หน้าหลักบริการของเรา
บริการของเรา
รายละเอียดการให้บริการ
ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ดำเนินการทดสอบที่ศูนย์กรุงเทพมหานคร และศูนย์จังหวัดระยอง พร้อมออกหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน
การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานใน 3 สาขา
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 บริษัท พี.พี.เอ็น.โปรเฟสชั่นแนล โอเปอร์เร เตอร์ เซอร์วิส จำกัด ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยดำเนินการทดสอบ ที่ กรุงเทพมหานคร ตามใบอนุญาตเลขที่ กทม 011/2557 และที่จังหวัดระยอง ตามใบอนุญาตเลข รย 05/2558 โดย ให้ดำเนินการทดสอบใน 3 สาขาอาชีพ
- สาขา พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกใช้เครื่องยนต์ ระดับ 1
- สาขา พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกไฟฟ้า ระดับ 1
- สาขา พนักงานควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน ระดับ 1
ความสำคัญ การทดสอบฝีมือแรงงานแห่งชาติ
การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็นการทดสอบเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทัศนคติใน การทำงานของผู้ประกอบอาชีพตามเกณฑ์ที่กฎหมายกระทรวงกำหนด ผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้รับหนังสือ รับรองที่ระบุ ชื่อ นามสกุล สาขา และระดับที่ผ่านการทดสอบ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันในทักษะและฝีมือตาม กฎหมาย
เกณฑ์ประเมินผลการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
- ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานงๆ
- คำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน
- ขั้นตอนและวิธีการทำงานที่เหมาะสม
- รู้จักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ อย่างถูกต้อง – รู้จักเลือกและใช้วัสดุอย่างเหมาะสมและประหยัด
- สามารถควบคุมเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม – สร้างผลงานสำเร็จและเป็นที่ยอมรับ
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทดสอบ
- ผู้เข้ารับการทดสอบจะได้ทราบถึงระดับฝีมือของตน และได้รับหนังสือรับรองซึ่งช่วยการันตีระดับมาตรฐาน ของฝีมือ
- ผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จะได้อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
- นายจ้างสามารถใช้ระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นปัจจัยในการพิจารณารับเข้าทำงาน ปรับตำแหน่ง และกำหนดอัตราค่าจ้างได้
- นายจ้างได้ลูกจ้างที่มีมาตรฐานฝีมือแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด
บริการตรวจทดสอบรับรองรถยกใช้ก๊าซ LPGฯ
บริการตรวจทดสอบรับรองรถยกใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง
บริการตรวจสอบ ทดสอบเครน,ปั้นจั่น
ความถี่ในการทดสอบปั้นจั่น
ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น
(๑) ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
ขนาดพิกัดยก | ความถี่ในการทดสอบ |
ไม่เกิน 3 ตัน | 6 เดือน |
มากกว่า 3 ตัน ขึ้นไป | 3 เดือน |
**ที่ไม่มีรายละเอียดขนาดพิกัดยก ในการทดสอบให้ทดสอบโดยใช้ขนาดพิกัดยกตามที่วิศวกรกำหนด
(๒) ปั้นจั่นที่ใช้งานอื่น ๆ (Overhead Cranes ฯลฯ)
ขนาดพิกัดยก | ความถี่ในการทดสอบ |
1-3 ตัน | 1 ปี |
3-50 ตัน | 6 เดือน |
มากกว่า 50 ตัน | 3 เดือน |
**ที่ไม่มีรายละเอียดขนาดพิกัดยก ในการทดสอบให้ทดสอบโดยใช้ขนาดพิกัดยกตามที่วิศวกรกำหนด
การทดสอบการรับน้ำหนัก
ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น
(ก) ปั้นจั่นใหม่
ขนาดพิกัดยก | น้ำหนักที่ใช้ทดสอบ |
ไม่เกิน 20 ตัน | 1 – 1.25 เท่า |
20-50 ตัน | เพิ่มอีก 5 ตันจากตารางพิกัดยก |
(ข) ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว
ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนัก ที่ใช้งานจริงสูงสุดโดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด กรณีไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยที่ผู้ผลิตกำหนด
ให้ทดสอบการรับน้ำหนักตามที่วิศวกรกำหนด น้ำหนักที่ใช้ทดสอบการยก อาจใช้การทดสอบด้วยน้ำหนักจริง หรือทดสอบด้วยน้ำหนัก
จำลอง (Load Simulation)